รถติดชีวิตเปลี่ยน เคล็ดลับลดเครียด สร้างสุขบนถนน

เคล็ดลับ:

ทุกวันนี้เราใช้เวลาบนรถมากกว่าวันลาพักร้อนเสียอีก บริษัทวิจัยด้านเทคโนโลยีอาริตี้ (Arity) พบว่าชาวอเมริกันใช้เวลาบนท้องถนนมากถึง 321 ชั่วโมงต่อปี ส่วนมากของเวลาที่เสียไปเป็นเวลาระหว่างนั่งรถไปกลับเพื่อไปทำงาน เทียบกับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ใช้เพียงปีละ 120 ชั่วโมง แม้อาจฟังดูเยอะ แต่ตัวเลขนี้เรียกว่าเทียบไม่ได้เลยกับประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องรถติดอย่างกรุงเทพฯ

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานวิจัยโดยบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (บีซีจี) ในปี 2017 เผยว่า คนกรุงเทพฯ เสียเวลาไปกับรถติดถึง 18.2 วันต่อปี ยังไม่รวมเวลาหาที่จอดรถเพิ่มอีก 6 วัน โดยรวมแล้วคนกรุงเทพฯ เสียเวลาบนถนนไปถึง 24 วัน ไม่น่าแปลกใจที่เราจะรู้สึกเหนื่อยหน่ายขึ้นมาทันทีที่คิดถึงการเดินทางไปทำงาน

การแก้ไขปัญหาในเร็ววันอาจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ดังนั้นแทนที่เราจะจดจ่ออยู่กับปัญหาที่ควบคุมไม่ได้ ลองหาวิธีที่จะเปลี่ยนจากความเข็ดขยาดการเดินทาง เป็นความรู้สึกเชิงบวกกันดีกว่า

หาอะไรฟัง กันหงุดหงิด

ส่วนหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกเครียดเมื่อติดอยู่บนท้องถนน คือ เวลาที่เสียไปเปล่าๆ ลองฟังพอดแคสต์หรือออดิโอ้บุ๊คแก้เบื่อ เพราะอย่างน้อยก็ช่วยให้ใช้เวลาในรถให้มีประโยชน์ บางหัวเรื่องอาจจะน่าสนใจมากจนคุณอยากให้รถติดไปนานๆ คุณจะได้มีเวลาฟังต่ออีกสักตอนด้วยซ้ำ

การเลือกฟังเพลย์ลิสต์ที่ชอบและเพลงโปรดก็ช่วยให้คุณหายเครียดได้เหมือนกัน เพลงจังหวะช้าๆ ได้รับการทดสอบแล้วว่ามีผลต่ออารมณ์ของคนขับในแง่ดี เพียงแค่เปลี่ยนไปฟังเพลงจังหวะช้าๆ พฤติกรรมในการขับรถเปลี่ยนไปในทันที โดยมีอาการใจเย็นลงอย่างรวดเร็วและขับรถได้ดีขึ้น ดังนั้นเมื่อไรที่รู้สึกว่าคุณกำลังจะกลายเป็นมารร้าย ลองเร่งเสียงวิทยุให้ดังขึ้นดู

ยิ่งเราใช้เวลากับการเดินทางไปมากเท่าไร การออกแบบรถให้รองรับเวลาที่ต้องใช้บนรถยิ่งสำคัญมากขึ้นเท่านั้น ฟอร์ดออกแบบรถโดยใช้ผู้ขับเป็นศูนย์กลาง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ซิงค์ 3 ระบบความบันเทิงสุดชาญฉลาด ทำให้สามารถฟังเสียงข้อความ เปลี่ยนเพลง หรือปรับอุณหภูมิในรถได้ด้วยคำสั่งเสียง เทคโนโลยีช่วยขับขี่อัจฉริยะต่างๆ เช่น ระบบควบคุมความเร็วแบบรักษาระยะห่างอัตโนมัติ ระบบเตือนการชนด้านหน้า ระบบตรวจจับคนเดินถนน หรือระบบช่วยจอดอัจฉริยะ ก็ได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อช่วยลดความตึงเครียดของการขับรถในเมือง

“กลิ่นหอมในรถ เธอราพี”

หลายงานวิจัยศึกษาเรื่องกลิ่นและผลกระทบของกลิ่นต่ออารมณ์ พฤติกรรม และประสิทธิภาพในการทำงานของมนุษย์ นักวิจัยพบว่า กลิ่นเป็ปเปอร์มินท์ช่วยฟื้นฟูจิตใจ เพิ่มศักยภาพทางกีฬา และความตื่นตัวของสมองได้ กลิ่นซินนามอนช่วยเพิ่มสมาธิ และความเร็วในการตอบสนองต่อการเคลื่อนไหว งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า กลุ่มตัวอย่างลดความฉุนเฉียวและซึมเศร้าลง รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น หลังจากได้เดินในป่าสน

กลิ่นเป็นเหตุผลเดียวกันกับที่ฟอร์ดลงทุนลงแรงพัฒนารถยนต์ เพื่อให้แน่ใจว่ารถยนต์ฟอร์ดไม่ได้เป็นเพียงแค่รถที่น่าใช้หรือนั่งสบายเท่านั้น แต่กลิ่นภายในรถก็จะต้องเป็นกลิ่นที่เหมาะสมอีกด้วย ในบรรดาสัมผัสทั้ง 5 กลิ่นเป็นสิ่งที่ทรงพลังและมีผลต่อความทรงจำกับอารมณ์ของเรามากที่สุด ฟอร์ดจึงมีห้องทดลองกลิ่นในอเมริกา ยุโรป และเอเชียแปซิฟิค ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ห้องแล็บของเราอยู่ที่เมืองนานกิง ประเทศจีน นักวิทยาศาสตร์ที่นั่นได้ทดลองกลิ่นมากกว่า 300 ชนิดในแต่ละปี เพื่อค้นหาวัตถุดิบและส่วนประกอบที่จะนำไปเป็นส่วนหนึ่งในรถฟอร์ดของภูมิภาค เพื่อมั่นใจได้ว่า ฟอร์ดได้ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดในทุกด้านให้กับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

การนำกลิ่นหอมมาช่วยผ่อนคลายระหว่างรถติด นอกจากจะช่วยลดความเครียด ยังช่วยเพิ่มความสดชื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำหอมดับกลิ่นในรถที่มีขายอยู่ทั่วไป หรือหยดน้ำมันหอมระเหยลงบนแผ่นน้ำหอมที่สามารถทำเองแบบง่ายๆ กลิ่นผลไม้รสเปรี้ยวอย่างส้มหรือมะนาว จะทำให้รู้สึกกระปรี่กระเปร่า ส่วนโรสแมรี่มีคุณสมบัติช่วยลดความเครียดและความกังวล อย่างไรก็ดี อย่าให้แผ่นน้ำหอมบดบังวิสัยทัศน์ในการขับรถ และอย่าลืมทดลองก่อนว่า กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยที่คุณเลือกใช้ไม่ทำให้รู้สึกเวียนหัว หรือผ่อนคลายมากเกินไป จนทำให้เสียสมาธิในการขับรถหรือเกิดอันตราย

โอมมม ใจร่มๆ ไว้

ความคิดของเรามีอิทธิพลต่อสิ่งต่างๆ แค่การทำใจให้สบายก็อาจจะเป็นวิธีที่ได้ผลที่สุด เราไม่แนะนำให้ทำสมาธิระหว่างขับรถเพราะอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย แต่การฝึกหายใจให้เป็นจังหวะสม่ำเสมอก็จะช่วยให้คุณมีสมาธิและใจเย็นลง

วิธีหนึ่งที่ช่วยได้คือ เทคนิคหายใจเข้าออกสลับกัน โดยนับจำนวนวินาทีและหายใจลึกให้เท่ากัน การหายใจลึกๆ ทำให้สูดออกซิเจนได้เต็มปอดมากขึ้น ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ และทำให้ความดันโลหิตคงที่ ตรงกันข้ามกัน การหายใจเร็วซึ่งจะทำให้อากาศเข้าไปถึงชั้นในของปอดได้ไม่เต็มที่ ทำให้รู้สึกหงุดหงิดและหายใจไม่ทัน

การฝึกสมาธิบางวิธีก็ไม่ควรจะทำระหว่างขับรถ ควรหลีกเลี่ยงการฝึกหายใจที่ทำให้ขับรถลำบาก ต้องไม่ลืมมองถนนตลอดเวลา และอย่าเผลอนับลมหายใจจนเสียสมาธิในการขับรถถ้าชีวิตประจำวัน เราต้องใช้เวลาบนท้องถนนมากกว่าการไปเที่ยวพักผ่อน ก็ควรจะทำให้ช่วงเวลาในรถเป็นนาทีแห่งความสุข เพิ่มรอยยิ้มและคิดบวกเท่าที่จะทำได้