‘มิชลิน’ ผนึกกำลัง ‘โททาลเอนเนอร์ยีส์’ ส่งเสริมความปลอดภัยทางถนน
ข่าวรถวันนี้ : ‘มิชลิน’ ผนึกกำลัง ‘โททาลเอนเนอร์ยีส์’ ส่งเสริมความปลอดภัยทางถนน
‘มิชลิน’ ผนึกกำลัง ‘โททาลเอนเนอร์ยีส์’ นำหลักสูตรการศึกษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยทางถนน ซึ่งได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ มาใช้ในโรงเรียน 50 แห่งของไทย มุ่งพัฒนาทักษะการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัยในกลุ่มเยาวชนอายุ 10-18 ปี เพื่อการสัญจรที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืน
มิชลิน ผู้นำระดับโลกด้านยางรถยนต์และการสัญจรอย่างยั่งยืน ได้ผสานพันธมิตรกับ โททาลเอนเนอร์ยีส์ กลุ่มพลังงานชั้นนำระดับโลก สนับสนุนงบประมาณในการนำ VIA Road Safety Education Programme หลักสูตรการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนนผ่านการเรียนรู้แบบผสมผสานแนวใหม่ที่มุ่งเน้นให้เยาวชนอายุ 10-18 ปี ตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตและส่งเสริมพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนอย่างรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มาใช้ในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและสังกัดกรุงเทพมหานครรวม 50 แห่ง
นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า หลักสูตร VIA จะถูกนำไปปรับใช้ให้เข้ากับการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาตอนปลายและระดับมัธยมศึกษาในแต่ละโรงเรียนเป้าหมายตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้มีการดำเนินโครงการนำร่อง ณ โรงเรียน 5 แห่งในจังหวัดสมุทรปราการ ก่อนจะขยายผลต่อเนื่องไปยังโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 36 แห่ง และโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครอีก 9 แห่ง โดยหลักสูตรดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงฯ ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพและเสริมทักษะด้านความปลอดภัยอย่างรอบด้านให้กับเยาวชน
VIA Road Safety Education Program เป็นหลักสูตรการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนนผ่านการเรียนการสอนแบบผสมผสานหลายรูปแบบ ทั้งจากการปฏิบัติจริงและการจำลองสถานการณ์ โดยมีการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลร่วมด้วย เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนกลุ่มเป้าหมายอายุระหว่าง 10-18 ปี สามารถคิดวิเคราะห์ ประเมินและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุทางถนนได้ด้วยตนเอง ตลอดจนพัฒนาทักษะในการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัยและมีวินัยเพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้ หลักสูตรดังกล่าวซึ่งดำเนินการโดยมูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย (AIP Foundation) ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการนำไปปรับใช้ร่วมกับการเรียนการสอนในประเทศต่างๆ โดยประสบความสำเร็จมาแล้วในประเทศฝรั่งเศส แคเมอรูน และอินเดีย สำหรับประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่นำหลักสูตรนี้มาใช้
มานูเอล มอนตานา (Manuel Montana) ประธานกลุ่มมิชลิน ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกและออสเตรเลีย กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลากว่า 28 ปี มิชลินได้ให้ความสำคัญและริเริ่มจัดกิจกรรมรณรงค์เรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังที่จะลดอุบัติเหตุและสร้างการสัญจรที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นอย่างยั่งยืนสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนในประเทศไทย การสนับสนุนงบประมาณเพื่อนำหลักสูตร VIA มาปรับใช้ในสถานศึกษาของไทยครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งความพยายามที่ตอกย้ำความมุ่งมั่นดังกล่าว โดยมุ่งสร้างผู้ใช้รถใช้ถนนรุ่นใหม่ที่มีความรับผิดชอบให้กับสังคมไทย”
ปาสกาล ลารอช (Pascal Laroche) ประธานกลุ่มบริษัท โททาลเอนเนอร์ยีส์ ประเทศไทย และผู้จัดการใหญ่ บริษัท โททาลเอนเนอร์ยีส์ อีพี ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “เรามั่นใจในประสิทธิภาพของหลักสูตร VIA ว่าจะช่วยเสริมทักษะให้เยาวชนไทยใช้รถใช้ถนนได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยสามารถประเมินและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุทางถนนได้ และหวังว่าในอนาคตจะสามารถต่อยอดขยายผลนำหลักสูตรนี้ไปใช้ในโรงเรียนจำนวนมากขึ้นภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง”
รายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนนขององค์การอนามัยโลกพบว่า อุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนในหลายประเทศทั่วโลกปีละประมาณ 1.35 ล้านคน โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ในเอเชียและภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ ข้อมูลการบูรณาการข้อมูลผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 3 ฐาน ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด พบว่าอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยประจำปี 2563 อยู่ที่ราว 18,000 ราย ในจำนวนนี้เป็นเด็กและเยาวชนเกือบ 3 พันราย คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจหลายแสนล้านบาท
ข่าวรถวันนี้ : ‘มิชลิน’รับรางวัล Product Innovation Awards กลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ ประเภทยางรถยนต์ ประจำปี 2564
ฯพณฯ นุรักษ์ มาประณีต องคมนตรี มอบรางวัล Product Innovation Awards กลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ ประเภทยางรถยนต์ ประจำปี 2564 ให้กับนายวิเนต องค์เนกนันต์ (ซ้าย) ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด B2C บริษัท สยามมิชลิน จำกัด โดยรางวัลนี้ได้มอบให้กับยางรถยนต์รุ่น ‘มิชลิน ไพรมาซี่ 4’ ในฐานะผลิตภัณฑ์ที่มอบสมรรถนะที่ดีตลอดระยะเวลาการใช้งาน เพื่อให้การสัญจรปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์ผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยียางรถยนต์ระดับโลก
รางวัล “Product Innovation Awards 2021” หรือ “สุดยอดนวัตกรรมสินค้าและบริการแห่งปี 2564” จัดทำโดยนิตยสาร Business+ ร่วมกับวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งได้จัดทำการสำรวจและมอบรางวัลให้กับสุดยอดแบรนด์ที่เป็นแบบอย่างความสำเร็จในการคิดค้นนวัตกรรมสินค้าและบริการใหม่ ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า และมอบประสบการณ์การของสินค้าและบริการ เพื่อเป็นที่ต้องการของตลาดและประสบความสำเร็จในด้านธุรกิจ
ข่าวรถวันนี้ : มิชลิน ส่ง ‘ResiCare’ นวัตกรรมสารยึดติดที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บุกเบิกตลาดรุกช่องทางการใช้ประโยชน์ในธุรกิจอื่นนอกเหนือจากยางรถยนต์
- ล่าสุดค้นพบว่านวัตกรรมสารยึดติด ResiCare (เรซิแคร์) สามารถใช้ประโยชน์ในธุรกิจอื่นนอกจากธุรกิจด้านยางรถยนต์
- พร้อมบุกเบิกตลาดในฐานะทางเลือกใหม่ของสารยึดติดสำหรับอุตสาหกรรมไม้อัด โดยให้ความปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เหนือกว่า
- ตอกย้ำกลยุทธ์ “ความยั่งยืนทุกด้าน” และความมุ่งมั่นของกลุ่มมิชลินในการพัฒนาเข้าสู่ธุรกิจอื่นนอกเหนือจากยางรถยนต์
หลังผ่านการพัฒนาทางเทคนิคและอุตสาหกรรมมานานถึง 4 ปี ล่าสุด ResiCare บริษัทในเครือกลุ่มมิชลินซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาและผลิตสารยึดติดประสิทธิภาพสูงที่ปลอดภัยต่อมนุษย์และโลก ได้ค้นพบช่องทางด้านการพาณิชย์ในธุรกิจอื่นนอกเหนือจากยางรถยนต์ โดยนวัตกรรมเพื่อการใช้งานในอุตสาหกรรมไม้ครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการผสานความร่วมมือระหว่าง ResiCare และ Allin (อัลแลง) บริษัทผู้เชี่ยวชาญการผลิตแผ่นไม้อัดสัญชาติฝรั่งเศส เมื่อปี 2561
ทั้งนี้ Allin ได้เริ่มทำตลาด R’PLY (อาร์พลาย) ผลิตภัณฑ์ไม้อัดรุ่นแรกที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยส่วนผสมของเรซิน ResiCare ที่อ่อนโยนต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ไม้อัดรุ่น R’PLY ผลิตขึ้นจากการอัดไม้ป๊อปล่า (Poplar) หรือไม้โอคูเมะ (Okoume) ซึ่งได้รับการรับรองว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เข้าด้วยกันหลายชั้น ทำให้ R’PLY เป็นแผ่นไม้อัดประสิทธิภาพสูงที่เหมาะสำหรับนำไปใช้งานหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการใช้งานในธุรกิจประกอบยานยนต์หรือเรือ และธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง โดยเตรียมวางจำหน่ายแผ่นไม้อัด R’PLY ให้กับบุคคลทั่วไปในร้านค้าขนาดใหญ่ประเภท DIY Superstore เร็ว ๆ นี้
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 ResiCare ได้จัดตั้งหน่วยผลิตเรซินเคลื่อนที่ (Mobile Resin Production Unit) ขึ้น ณ โรงงานมิชลิน ในเมืองโอล์ซทิน (Olsztyn) ประเทศโปแลนด์ โดยมิชลินตั้งเป้าที่จะใช้นวัตกรรมสารยึดติด ResiCare ซึ่งปลอดสารเคมีที่มีความเป็นอันตรายสูง (SVHC) แทนการใช้สารยึดติดแบบเดิมในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับสิ่งทอที่ใช้ในการผลิตยางรถยนต์ ในสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 80 ResiCare จะใช้โมเดลหน่วยเคลื่อนที่ ณ โรงงานในเมืองโอล์ซทิน เป็นต้นแบบในการจัดตั้งหน่วยผลิตขนาดเล็กขึ้นในยุโรปและเอเชียตลอดหลายเดือนข้างหน้า เพื่อมุ่งบรรลุเป้าหมายที่จะให้ผู้ผลิตยางรถยนต์ทุกรายหันมาใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับสิ่งทอที่ใช้ในการผลิตยางรถยนต์ นวัตกรรมสารยึดติด ResiCare เกิดจากความมุ่งมั่นของมิชลินที่จะนำสารยึดติดที่ปราศจากฟอร์มาลิน (Formalin) และรีซอร์ซินอล (Resorcinol) ซึ่งปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากกว่า มาใช้แทนสารยึดติดแบบเดิมในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับสิ่งทอที่ใช้ในการผลิตยางรถยนต์ ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพของนวัตกรรมสารยึดติดดังกล่าว มิชลิน และ ResiCare จึงมุ่งเพิ่มมูลค่าให้กับเทคโนโลยีนี้ด้วยการนำไปใช้งานในธุรกิจอื่นนอกเหนือจากยางรถยนต์ การทำตลาดครั้งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าที่ตอกย้ำกลยุทธ์ “ความยั่งยืนทุกด้าน” (All Sustainable) และความมุ่งมั่นของกลุ่มมิชลินในการพัฒนาเข้าสู่ธุรกิจอื่นนอกเหนือจากยางรถยนต์
ข่าวรถวันนี้ : ‘มิชลิน’สมทบทุน บริจาคขวดพลาสติก ผลิตเป็นชุด PPE ดำเนินกิจกรรมตอกย้ำจุดยืนเรื่อง “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ภายใต้วิสัยทัศน์มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืนทุกด้าน เพื่อมอบให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่สีแดงเข้ม
ด้วยจุดยืนองค์กรในเรื่อง “เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy) ซึ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสูงสุดและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด อันเป็นหนึ่งในแนวทางเพื่อขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ “ความยั่งยืนทุกด้าน” (All Sustainable) ให้เป็นจริง ล่าสุด ‘มิชลิน’ ได้จับมือเครือข่ายสังคมลดขยะ Less Plastic Thailand สนับสนุนโครงการ “แยกขวด ช่วยหมอ” รณรงค์ให้พนักงานร่วมบริจาคขวดพลาสติก PET เพื่อใช้ผลิตเป็นชุด PPE มอบให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่สีแดงเข้ม ภายใต้โครงการดังกล่าวซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน มิชลินได้ร่วมสมทบทุนในการผลิตชุด PPE จากเส้นใยพลาสติกเป็นเงินกว่า 300,000 บาท และบริจาคขวดพลาสติก PPE รวม 192 กิโลกรัม ซึ่งสามารถนำไปผลิตเป็นชุด PPE ได้ทั้งสิ้น 1,300 ชุด
มานูเอล มอนตานา (Manuel Montana) ประธานกลุ่มมิชลินประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกและออสเตรเลีย เปิดเผยว่า “โครงการ ‘แยกขวด ช่วยหมอ’ ไม่เพียงเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อแพทย์และบุคลากรด่านหน้าท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ยังสอดคล้องกับจุดยืนองค์กรเรื่อง ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ ในแง่ของการลดขยะและการแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งเป็นไปตามวิสัยทัศน์ ‘ความยั่งยืนทุกด้าน’ ของกลุ่มมิชลินที่เน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างสรรค์สังคมให้รุดหน้าไปในทิศทางที่ดียิ่งกว่าและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีบนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกับโลกอย่างสมดุล”
อนึ่ง กลุ่มมิชลินชูแนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เป็นกลไกขับเคลื่อนกลยุทธ์การเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร โดยมุ่งทำตลาดสินค้าและบริการที่ทุกขั้นตอน…ตั้งแต่ออกแบบจนสิ้นสุดวงจรชีวิต…ช่วยลดการใช้ทรัพยากร รวมทั้งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมน้อยที่สุด ตามแนวทาง “4R” ซึ่งประกอบด้วย Reduce (การลด), Reuse (การใช้ซ้ำ), Recycle (การแปรรูปกลับมาใช้ใหม่) และ Renew (การใช้วัตถุดิบหมุนเวียน)
นอกจากนี้ ที่ผ่านมามิชลินในประเทศไทยยังได้สนับสนุนโครงการด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนริเริ่มโครงการต่าง ๆ และจัดกิจกรรมรณรงค์ในหมู่พนักงานอย่างต่อเนื่องภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” อาทิ โครงการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาโรงงานมิชลิน (Solar Roof) เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า, โครงการรณรงค์ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและการใช้กระดาษในสำนักงานของมิชลิน, โครงการบริจาคกล่องกระดาษใช้แล้วเพื่อนำไปรีไซเคิลผลิตเป็นเตียงสำหรับโรงพยาบาลสนามที่รองรับผู้ป่วยโควิด-19 เป็นต้น
ข่าวรถวันนี้ : ‘มิชลิน’ เปิดตัว MICHELIN PILOT SPORT EV ยางมิชลินรุ่นแรกสำหรับ รถสปอร์ตไฟฟ้า ตอกย้ำการก้าวรุดหน้าสู่การสัญจรที่ยั่งยืน
- เป็นยางมิชลินรุ่นแรกที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ขับขี่รถสปอร์ตไฟฟ้า ทั้งด้านสมรรถนะการบังคับควบคุมและระยะทางในการวิ่ง
- มีระดับเสียงรบกวนต่ำจึงให้ความสบายที่เหนือกว่าตลอดการเดินทาง1
- ให้ประสบการณ์ที่เหนือกว่าซึ่งถ่ายทอดมาจากการแข่งรถ ‘ฟอร์มูลา อี’
- เป็นยางที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ในกระบวนการก่อนการขาย ณ จุดขาย
มิชลิน ผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยียางรถยนต์ระดับโลก เปิดตัว ‘มิชลิน ไพลอต สปอร์ต อีวี’ (MICHELIN Pilot Sport EV) ยางรุ่นแรกในตระกูล ‘มิชลิน ไพลอต สปอร์ต’ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อรถยนต์สปอร์ตไฟฟ้าโดยเฉพาะ การเปิดตัวนวัตกรรมยางครั้งนี้มุ่งรองรับแนวโน้มการเติบโตของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย และตอกย้ำความมุ่งมั่นของมิชลินที่มีต่อการสัญจรอย่างยั่งยืน นันทิยา พิทักษ์วงษ์ดีงาม, ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจ B2C ประเทศไทย เปิดเผยว่า “ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2563 จำนวนการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกพุ่งสูงถึงกว่า 10 ล้านคัน เป็นที่ชัดเจนว่ายานยนต์ไฟฟ้าคือแนวโน้มสู่อนาคตปี 2573 แต่ที่มิชลิน…เราต้องการสร้างอนาคตเรื่องการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าให้เกิดขึ้นเสียตั้งแต่วันนี้ ด้วยเหตุนี้ เราจึงภูมิใจนำเสนอยาง มิชลิน ไพลอต สปอร์ต อีวี ซึ่งรังสรรค์ขึ้นจากประสบการณ์กว่า 6 ปี ของมิชลินในการแข่งขัน ‘ฟอร์มูลา อี’ ส่งผลให้ยางรุ่นนี้มีคุณสมบัติโดดเด่นในการส่งเสริมสมรรถนะของรถสปอร์ตไฟฟ้าให้ถึงขีดสุด ทั้งยังให้ความเพลิดเพลินและความปลอดภัยที่เหนือกว่าขณะขับขี่”
ยาง ‘มิชลิน ไพลอต สปอร์ต อีวี’ ให้คุณสมบัติที่โดดเด่น อาทิ
- ศักยภาพในการยึดเกาะที่ดีเยี่ยมทั้งบนถนนเปียกและถนนแห้ง3,4 ไม่ว่ายางจะสึกอยู่ที่ระดับใดก็ตาม5 โดยคำนึงถึงน้ำหนักตัวรถและการกระจายน้ำหนักที่มากกว่าของรถสปอร์ตไฟฟ้า
- ความสามารถในการต้านทานการสึกหรอที่โดดเด่น6 สามารถรองรับแรงเร่งและแรงบิดสูงอันเป็นลักษณะเฉพาะของรถสปอร์ตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- แรงต้านทานการหมุนที่ต่ำมากของยาง ‘มิชลิน ไพลอต สปอร์ต อีวี’ ส่งผลให้มีระยะทางวิ่งเพิ่มขึ้นถึง 60 กิโลเมตร ช่วยให้ผู้ขับขี่ใช้งานรถสปอร์ตไฟฟ้าได้เต็มสมรรถนะถึงขีดสุด7
- ประสิทธิภาพในการลดระดับเสียงรบกวนลงได้ถึง 20% ด้วยเทคโนโลยี MICHELIN AcousticTM ซึ่งอยู่ในรูปโฟมโพลียูรีเธนที่พัฒนาขึ้นเป็นพิเศษเพื่อลดเสียงรบกวนภายในห้องโดยสาร จึงให้ความเพลิดเพลินในการขับขี่รถสปอร์ตไฟฟ้าที่เหนือกว่า1
ยาง ‘มิชลิน ไพลอต สปอร์ต อีวี’ ให้ประสบการณ์ที่เหนือกว่าซึ่งถ่ายทอดมาจากการแข่งรถ ‘ฟอร์มูลา อี’
มิชลิน ในฐานะพันธมิตรผู้ก่อตั้งการแข่งรถ ‘ฟอร์มูลา อี’ (Formula E) มุ่งมั่นนำเสนอโซลูชั่นสำหรับรถพลังงานไฟฟ้าประเภทที่นั่งเดี่ยวซึ่งใช้ในการแข่งขัน ‘ฟอร์มูลา อี’ โดยยางมิชลินสำหรับการแข่งรถ รายการดังกล่าวมีลักษณะเหมือนกับยางสำหรับวิ่งบนถนนทางเรียบ แต่มีประสิทธิภาพสำหรับการแข่งขันประลองความเร็วในทุกสภาพอากาศ ทั้งนี้ ขนาดยางซึ่งอยู่ที่ 19 นิ้ว เป็นไปตามมาตรฐานยางสำหรับรถยนต์ทางเรียบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ยาง ‘มิชลิน ไพลอต สปอร์ต อีวี’ เป็นพัฒนาการจากความสำเร็จของมิชลินในการแข่งรถ ‘ฟอร์มูลา อี’กว่า 6 ฤดูกาล โดยมาพร้อมเทคโนโลยี ElectricGrip CompoundTM ซึ่งใช้เนื้อยางที่มีความแข็งแกร่งสูงบริเวณตอนกลางของหน้ายาง จึงให้การยึดเกาะที่รองรับแรงบิดสูงของรถสปอร์ตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันแก้มยางยังมีลวดลายและลักษณะพื้นผิวคล้ายกำมะหยี่เช่นเดียวกับยางมิชลินที่ใช้ในการแข่งรถ ‘ฟอร์มูลา อี’ ด้วย
ยางที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ในกระบวนการก่อนการขาย ณ จุดขาย เพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ตลอดอายุการใช้งานยาง รวมทั้งเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ขับขี่รถสปอร์ตไฟฟ้า มิชลินได้ให้คำมั่นที่จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ในกิจกรรมการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการขนส่งผลิตภัณฑ์ยางไปยังจุดจำหน่าย กระบวนการนี้ครอบคลุมการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการต่างๆ ที่มุ่งชดเชยและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตยางและตกค้างอยู่ ผ่านกองทุนคาร์บอน Livelihoods Carbon Fund (LCF) จนกว่าจะสามารถขจัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เหลือศูนย์
ปัจจุบัน มิชลินเป็นผู้ผลิตยางรถยนต์เพียงรายเดียวที่มีบทบาทในตลาดยางรถสปอร์ตไฟฟ้า ทั้งประเภทยางมาตรฐานติดรถและยางเปลี่ยนทดแทน ทั้งนี้ ยาง ‘มิชลิน ไพลอต สปอร์ต อีวี’ จะเริ่มทยอยออกวางจำหน่ายในปี 2564 โดยมีให้เลือก 16 ขนาด (ยางมาตรฐานติดรถ 11 ขนาด และยางสำหรับเปลี่ยนทดแทน 5 ขนาด) สำหรับล้อขอบ 18-22 นิ้ว อนึ่ง ยาง ‘มิชลิน ไพลอต สปอร์ต อีวี’ ขนาด 20 นิ้ว ได้รับการรับรองให้ใช้งานกับรถยนต์ ‘เทสลา โมเดล วาย’ (Tesla Model Y) ซึ่งทำตลาดในประเทศจีน ทั้งยังจะเป็นยางที่ทำตลาดทั่วโลก ครอบคลุมการใช้งานกับยานยนต์ในตลาดยุโรปและอเมริกาเหนือในปลายปี 2564 นอกจากนี้ มิชลินยังตั้งเป้าที่จะเพิ่มยอดขายในตลาดที่มีการเติบโตสูงให้ได้เป็น 8 เท่า ภายในปี 2567 ในประเทศไทย ยาง ‘มิชลิน ไพลอต สปอร์ต อีวี’ มีวางจำหน่ายผ่านการสั่งจองล่วงหน้า 7 ขนาด (ขอบ 19-22 นิ้ว) ณ เครือข่ายศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร ‘ไทร์พลัส’ และร้านตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของมิชลินทั่วประเทศ ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.michelin.co.th หรือ MICHELIN Hotline 02-700-3993
ข่าวรถวันนี้ (9/9/21) : ‘มิชลิน’ เปิดตัวนิทรรศการยางรถจักรยานยนต์ในรูปแบบเสมือนจริงรอบ 2 เพิ่มเติมความแปลกใหม่ให้ผู้ชมได้สัมผัสอีกระดับของความตื่นตาตื่นใจ ไปกับประสบการณ์ดิจิทัลเต็มรูปแบบ
หลังประสบความสำเร็จอย่างสูงกับการเปิดตัวครั้งแรกเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ล่าสุดมิชลินตัดสินใจเปิด นิทรรศการยางรถจักรยานยนต์ในรูปแบบเสมือนจริงบนเครือข่ายออนไลน์ MICHELIN MOTORCYCLE TYRE VIRTUAL EXHIBITION ขึ้นอีกครั้งเป็นรอบที่สองภายใต้สโลแกน The Journey Continues ให้ผู้เข้าชมจากทั่วโลกได้สัมผัสอีกระดับของความตื่นตาตื่นใจด้วยระบบอินเตอร์เฟซที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พื้นที่จัดแสดงเนื้อหาใหม่เพิ่มเติมที่เน้นการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน และนวัตกรรมยางรถจักรยานยนต์ล่าสุดจากมิชลิน โดยนิทรรศการรอบนี้เปิดให้เข้าชมแล้วทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่บัดนี้ต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี
นิทรรศการเสมือนจริงรอบสองนี้ได้เพิ่มเติมองค์ประกอบใหม่ ๆ หลายประการ อาทิ พื้นที่จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ โดยมุ่งตอกย้ำ “ความเป็นผู้บุกเบิก” ของมิชลินที่อยู่นอกเหนือขอบเขตธุรกิจยางรถยนต์, เรื่องราวประวัติความเป็นมาของมิชลินในการเข้าร่วมการแข่งขัน ‘โมโตอี เวิลด์ คัพ’ ซึ่งจัดโดยสหพันธ์จักรยานยนต์นานาชาติ (FIM MotoE World Cup) ที่สะท้อนให้เห็นถึงความหลงใหลในกีฬามอเตอร์สปอร์ตของมิชลินอันส่งผลให้เกิดการพัฒนาโซลูชั่นยางใหม่ ๆ ภายใต้วิสัยทัศน์ “ความยั่งยืนทุกด้าน” (All Sustainable) ควบคู่ไปกับความมุ่งมั่นส่งเสริมการสัญจรให้มีสมรรถนะสูง ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นเพื่อทุกคน รวมทั้งพื้นที่แนะนำยางรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่มาพร้อมนวัตกรรมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีล่าสุดจากมิชลิน ได้แก่ ‘มิชลิน อนาคี สตรีท’ (MICHELIN Anakee Street) และ ‘มิชลิน โรด คลาสสิก’ (MICHELIN Road Classic)
ปรีชาปกรณ์ แดงโรจน์ ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาง 2 ล้อ ประจำภูมิภาคเอเชียของมิชลิน เปิดเผยว่า “ผู้เข้าชมนิทรรศการเสมือนจริงครั้งที่ 2 นี้ ไม่เพียงจะได้ตื่นตาตื่นใจกับข้อมูลเชิงลึกล่าสุดเกี่ยวกับนวัตกรรมยางรถจักรยานยนต์ของมิชลิน แต่ยังจะได้สัมผัสประสบการณ์แบบเจาะลึกถึงแก่นบนเส้นทางการเติบโตของมิชลินในเอเชียและทั่วโลก ด้วยระบบนำทางภายในเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเนื้อหาแปลกใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามา เราเชื่อมั่นว่านิทรรศการเสมือนจริงครั้งนี้จะเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสประสบการณ์ทางดิจิทัลที่เหนือกว่าไปกับมิชลิน โดยมีศักยภาพที่จะดึงดูดผู้เข้าชมจำนวนมากขึ้นและทำให้พวกเขารู้สึกคุ้มค่าที่ได้เดินทางท่องโลกเสมือนจริงไปกับเรา” นิทรรศการยางรถจักรยานยนต์ในรูปแบบเสมือนจริง MICHELIN MOTORCYCLE TYRE VIRTUAL EXHIBITION รอบสองนี้แบ่งออกเป็น 6 ส่วน โดยแต่ละส่วนเน้นเนื้อหาที่แตกต่างกัน ได้แก่ The MICHELIN Guide ซึ่งให้ข้อมูลสำคัญที่จะช่วยเปิดประสบการณ์ด้านอาหารที่น่าประทับใจ, Launch Area พื้นที่จัดแสดงผลิตภัณฑ์ยางรถจักรยานยนต์เปิดตัวใหม่ล่าสุด 2 รุ่น ได้แก่ ‘มิชลิน อนาคี สตรีท’ (MICHELIN Anakee Street) ยางที่พร้อมลุยทุกเส้นทางทั้งทางเรียบและทางวิบาก และ ‘มิชลิน โรด คลาสสิก’ (MICHELIN Road Classic) ยางที่นำเสนอเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อเสริมสมรรถนะรถจักรยานยนต์สไตล์คลาสสิก, Product Display ซึ่งให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับยางมิชลินรุ่นต่างๆ สำหรับรถจักรยานยนต์, Technology & Performance ซึ่งนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับเทคโนโลยีขั้นสูงของยางรถจักรยานยนต์จากมิชลินที่มาพร้อมกับรูปลักษณ์ใหม่
MotoGP™ & Motorcycle Racing Strategy ที่แสดงความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างมิชลินและรายการแข่งรถจักรยานยนต์ ‘โมโตจีพี’, ข้อมูลยางรถจักรยานยนต์และนักบิดในการแข่งขัน ‘โมโตจีพี’ ประจำปี 2564, คลิปวิดีโอเกี่ยวกับการแข่งขันและนักบิด ‘โมโตจีพี’ รวมทั้งเนื้อหาใหม่เกี่ยวกับความเป็นมาของมิชลินในการเข้าร่วมการแข่งขัน ‘โมโตอี เวิลด์ คัพ’ ซึ่งจัดโดยสหพันธ์จักรยานยนต์นานาชาติ (FIM MotoE World Cup) และ Partnership with Original Equipment Manufacturers จัดแสดงเนื้อหาสะท้อนพลังการร่วมพันธมิตรของมิชลินกับผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ชั้นนำระดับโลก พร้อมทั้งแสดงรถจักรยานยนต์หลากรุ่นที่ใช้ยางมิชลินเป็นยางมาตรฐานติดรถ
เนื้อหาทั้งหมดนำเสนอเป็นภาษาต่างๆ รวม 6 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ, ไทย, บาฮาซา อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, เกาหลี และเวียดนาม ผู้สนใจสามารถคลิกเข้าชมนิทรรศการยางรถจักรยานยนต์ในรูปแบบเสมือนจริง MICHELIN MOTORCYCLE TYRE VIRTUAL EXHIBITION รอบสองนี้ ได้ที่: motorcycletyreexhibithall.michelin.asia
ข่าวรถวันนี้ (1/09/2021) : ‘มิชลิน’ ขยายฐานรุกธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ประกาศเข้าซื้อกิจการ 100% ใน Allopneus SAS
- Allopneus (อัลลอพเนอ) บริษัทออนไลน์สัญชาติฝรั่งเศส เป็นผู้นำด้านการขายและติดตั้งยางรถยนต์ให้กับลูกค้ารายบุคคล
- การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ช่วยเสริมสร้างฐานธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ของมิชลินในฝรั่งเศสให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
- การขายออนไลน์ถือเป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา
มิชลิน เข้าซื้อกิจการและเป็นเจ้าของ 100% ใน Allopneus SAS บริษัทออนไลน์สัญชาติฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้นำด้านการขายและติดตั้งยางรถยนต์ให้กับลูกค้าภาคเอกชน ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2558 มิชลินเป็นผู้ถือครองเงินทุนร้อยละ 40 ใน Allopneus SAS ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยครอบครัวเบลส (Blaise) เมื่อปี 2547 การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ช่วยเสริมสร้างฐานธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของมิชลินในฝรั่งเศสให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยกลุ่มมิชลินตั้งใจที่จะพัฒนาความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกค้าและกระบวนการซื้อสินค้า ตลอดจนมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลออนไลน์ไปจนถึงการติดตั้งยางรถยนต์
การพัฒนาธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นหนึ่งในแนวโน้มทางโครงสร้างที่สำคัญของตลาดยางรถยนต์ โดยการค้นหาข้อมูลออนไลน์เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับ 2 ใน 3 ของผู้ขับขี่ยานยนต์* ในช่วง 2-3 สัปดาห์ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อยางรถยนต์ใหม่ ปัจจุบัน ร้อยละ 15 ของคนกลุ่มนี้ดำเนินการเลือกซื้อยางรถยนต์จนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ผ่านระบบออนไลน์ นี่เป็นแนวโน้มที่คาดว่าจะเติบโตแข็งแกร่งขึ้นอย่างต่อเนื่องไปอีกหลายปี
Allopneus ซึ่งมีฐานธุรกิจอยู่ ณ เมืองเอ็กซองโพรวองซ์ (Aix-en-Provence) ประเทศฝรั่งเศส เติบโตต่อเนื่องอย่างแข็งแกร่งมาตั้งแต่ปี 2547 โดยปัจจุบันครองสัดส่วนร้อยละ 40 ในตลาดขายยางออนไลน์สำหรับลูกค้าภาคเอกชนของฝรั่งเศส Allopneus จ้างงานพนักงาน 292 คน และทำงานร่วมกับพันธมิตรศูนย์บริการติดตั้งยางรถยนต์ราว 6,000 แห่ง โดยมีศูนย์โลจิสติกส์อยู่ที่เมืองวาล็องซ์ (Valence) ในแต่ละปี บริษัทฯ มียอดจำหน่ายยางประเภททัวร์ริ่ง (Touring Tyres) อยู่ที่ราว 3.6 ล้านเส้น และมียอดเข้าชมเว็บไซต์อยู่ที่ประมาณ 27 ล้านครั้ง
อนึ่ง การเข้าซื้อกิจการและเป็นเจ้าของ 100% ใน Allopneus SAS ของมิชลินยังต้องได้รับอนุมัติจากองค์กรกำกับการแข่งขันทางการค้าของฝรั่งเศส (French Competition Authority)
ข่าวรถวันนี้ : ‘มิชลิน ไกด์’ จัดแคมเปญ ‘Red Spoon | ปันอิ่ม ยิ้มสอง’ ร่วมส่งกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ ช่วยเหลือชุมชน ขาดแคลน และสนับสนุนกิจการร้านอาหาร ผ่านเมนูอร่อยจาก 25 ร้านดัง
‘มิชลิน ไกด์’ ประเทศไทย ได้ผนึกกำลังกับพันธมิตรร้านอาหารรางวัล ‘ดาวมิชลิน’, ‘บิบ กูร์มองด์’ และ ‘มิชลิน เพลท’ จำนวน 25 ร้าน เปิดตัวแคมเปญ ‘Red Spoon | ปันอิ่ม ยิ้มสอง’ ที่ริเริ่มขึ้นเพื่อส่งต่อพลังบวกให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนชุมชนและธุรกิจร้านอาหารซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ แคมเปญดังกล่าวครอบคลุมเฉพาะพื้นที่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และมีระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1-31 กรกฎาคม ศกนี้
ภายใต้แคมเปญนี้ เมื่อสั่งอาหารเมนูพิเศษ ‘Red Spoon’* ซึ่งแต่ละร้านอาหารที่เข้าร่วมแคมเปญคัดสรรมาโดยเฉพาะ 1 ชุด ในราคาเท่ากับ 2 ที่ นอกจากจะได้รับอาหารสำหรับทานเอง 1 ที่แล้ว ยังเท่ากับได้บริจาคอาหารเมนูเดียวกันให้กับบุคลากรทางการแพทย์หรือชุมชนขาดแคลนอีก 1 ที่ด้วย โดยหากสั่งเมนูพิเศษราคารวมตั้งแต่ 650 บาทขึ้นไปต่อใบเสร็จ จะได้รับคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ตและพังงา’ ประจำปี 2564 มูลค่า 650 บาท ฟรี 1 เล่ม** เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาแคมเปญ ‘มิชลิน ไกด์’ จะนำอาหารที่ทุกคนมีส่วนร่วมบริจาคผ่านแคมเปญนี้ไปมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์และชุมชนที่ขาดแคลนต่อไป
สำหรับร้านอาหารซึ่งคัดสรรเมนูพิเศษเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ทั้ง 25 ร้าน ล้วนเป็นร้านที่ได้รับรางวัลปีล่าสุด (2564) อาทิ ข้าว (รางวัล ‘1 ดาวมิชลิน’) กับเมนู “แกงระแวง” แกงโบราณคล้ายพะแนงที่เลือกใช้เนื้อสะโพกไก่ผัดกับกะทิและพริกแกงที่อุดมด้วยสมุนไพรโขลกสด, เผ็ดเผ็ด บิสโทร (รางวัล ‘บิบ กูร์มองด์’) กับเมนู “ตำชนะ” ตำมาม่าในน้ำปลาร้าสูตรพิเศษที่อุดมด้วยเครื่องทั้งหมูยอ หมูอบสับปะรด ผักกระเฉด หนวดปลาหมึก หน่อไม้ ข้าวโพดหวาน ฯลฯ และ อิสป (รางวัล ‘มิชลิน เพลท’) กับเมนู “ปิ้งย่างรวมมิตรสูตรเฉพาะของอิสป” (Signature Aesop’s Mixed Grill) ซึ่งประกอบด้วย ไก่ย่าง, เนื้อแกะผสมเนื้อวัวย่าง, หมูย่าง, ผักย่าง, ข้าวอินเดีย และขนมปังพิต้า
ผู้สนใจสามารถตรวจสอบรายชื่อร้านอาหารที่เข้าร่วมแคมเปญ ‘Red Spoon’ พร้อมกับเมนูพิเศษของแต่ละร้านได้ทางเว็บไซต์ https://guide.michelin.com/th/th/article/features/red-spoon
- * ครอบคลุมการสั่งอาหารแบบกลับบ้าน และสั่งให้จัดส่งผ่านแอพพลิเคชั่นเดลิเวอรี่ต่าง ๆ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของแต่ละร้าน
- ** สำหรับ 40 คำสั่งซื้อแรกของแต่ละร้านที่ตรงตามข้อกำหนด รวมทั้งสิ้น 1,000 เล่ม
ข่าวรถวันนี้ (23/06/2021) : มิชลิน ร่วมกับ KRISTAL.aero เปิดมิติใหม่ของประสบการณ์การบินเครื่องบินขนาดเล็กผ่านแอพพลิเคชั่น KRISTAL.air
- โดดเด่นด้วยฟังก์ชั่นที่สะดวกเพียงปลายนิ้วสัมผัส ใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา สำหรับผู้ชื่นชอบการบินโดยเฉพาะ
- ออกแบบเพื่อส่งเสริมการบินทั่วไป (General Aviation) ให้มีความยั่งยืนยิ่งขึ้น
- พัฒนาโดย KRISTAL.aero ด้วยการสนับสนุนของมิชลิน ภายใต้ระบบนิเวศแบบหลายพันธมิตร (Multi-Partner Ecosystem)
งานแสดงเทคโนโลยีและอุปกรณ์การบิน FRANCE AIR EXPO ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองลียง (Lyon) ประเทศฝรั่งเศส มิชลิน และ KRISTAL.aero ได้เปิดตัว KRISTAL.air นวัตกรรมแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับผู้ใช้งานเครื่องบินขนาดเล็กน้ำหนักเบา (Light Aircraft) เพื่อความเพลิดเพลิน การกีฬา หรือการเดินทาง โดยแอพพลิเคชั่นดังกล่าวออกแบบขึ้นสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการบินโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นนักบินครูการบิน สมาคมการบิน ผู้จัดงานแสดงด้านการบิน (Airshow) หรือผู้ประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยว
โซลูชั่นด้านการสัญจรสำหรับผู้ใช้งานเครื่องบินขนาดเล็กน้ำหนักเบา
มิชลิน และ KRISTAL.aero มุ่งมั่นพัฒนาแอพพลิเคชั่น KRISTAL.air ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งชุมชนของนักบินส่วนบุคคล โดยแอพพลิเคชั่นนี้นำเสนอฟังก์ชั่นการใช้งานที่แปลกใหม่และเป็นประโยชน์อย่างมากบนฐานพัฒนาการทางเทคโนโลยีของสมาร์ทโฟน ปัจจุบัน สมาร์ทโฟนเปรียบเสมือนเป็นคอมพิวเตอร์มือถือพลังสูงที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกได้ ซึ่งนักบินต่างพกพาติดตัวไว้ในกระเป๋ากางเกงหรือกระเป๋าเสื้อ…ไม่ว่าจะขับเครื่องบินประเภทใดในเที่ยวบินใดก็ตาม
ฟังก์ชั่นในแอพพลิเคชั่น KRISTAL.air แบ่งออกเป็น 4 หมวด ได้แก่ ชุมชนการบิน (Flying Community), ข้อมูลการบิน (Flight Data), กิจกรรมสุดท้าทาย (Challenges) และพื้นที่แบ่งปันประสบการณ์ (Experience-Sharing Forum) ฟังก์ชั่นเหล่านี้สามารถรองรับการนำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ การฝึกอบรมนักบิน, การบินเพื่อท่องเที่ยวและสันทนาการ, การแข่งขันประลองความเร็วและการประกวด, การติดตามฝูงบิน และการแบ่งปันข้อมูลระหว่างกลุ่มคนที่ชื่นชอบการบิน
นวัตกรรมหลักเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การบินทั่วไป
นอกจากนี้ แอพพลิเคชั่น KRISTAL.air ยังนำเสนอหลากหลายนวัตกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยสามารถบันทึกข้อมูลเที่ยวบินทุกเที่ยวได้อัตโนมัติโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก หรือ “จีพีเอส” (GPS) ในโทรศัพท์มือถือ, อุปกรณ์วัดความกดอากาศ (Barometer) ตลอดจนเครื่องตรวจจับการเคลื่อนไหวและความเร็ว (Accelerometer) จากนั้นจึงแสดงภาพย้อนหลัง (Onboard Camera-Like Playback) ให้นักบินได้เห็นเที่ยวบินของตนเองในรูปแบบ 3 มิติ อีกทั้งภาพเรดาร์ 3 มิติยังสามารถแสดงให้เห็นพิกัดตำแหน่งการบินของนักเรียนการบิน เพื่อนที่ทำการบินอยู่ หรือผู้ร่วมแข่งขันทางการบิน ได้แบบนาทีต่อนาที (Real Time)
แอพพลิเคชั่นนี้ยังสามารถรองรับการจัดกิจกรรมสุดท้าทายเพื่อใช้ในการสอนการบิน การแข่งขันทางการบิน หรือการประกวดการบิน ผ่านทางโทรศัพท์มือถือโดยตรง ตลอดจนใช้เพื่อสนับสนุนการเข้าร่วมการแข่งขันการบินประลองความเร็ว การแข่งขันการบินประเภทแรลลี่ และการแข่งขันการบินประเภทความแม่นยำสูง (Precision Flying)
การเข้าถึงชุมชนผู้ชื่นชอบการบินจะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นนี้ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์และได้รับแรงบันดาลใจในการวางแผนเที่ยวบินไปยังสถานที่ใหม่ ๆ ตลอดจนจนได้แลกเปลี่ยนเทคนิคและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ระหว่างกัน
ขับเคลื่อนการบินสู่ความยั่งยืนยิ่งขึ้น
แอพพลิเคชั่น KRISTAL.air มีฟังก์ชั่นหลากหลายรูปแบบที่เป็นมากกว่าเครื่องมือเพื่อการขับเครื่องบิน ข้อมูลที่ดีขึ้นสำหรับนักบินและความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูลดังกล่าวช่วยให้เที่ยวบินมีความปลอดภัยและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น สามารถใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อติดตามอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและความเร็ว, ระบุเขตพื้นที่หวงห้าม, วางแผนเที่ยวบินและระยะเวลาในการรอคอย (Waiting Time) ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งแสดงภาพจอเรดาร์เพื่อหลีกเลี่ยงการชน ดังนั้น แอพพลิเคชั่นนี้จึงไม่เพียงช่วยยกระดับความปลอดภัยทางอากาศได้อย่างมีนัยยะสำคัญ แต่ยังส่งเสริมแนวทางปฏิบัติด้านการบินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
มิชลิน และ KRISTAL.aero ได้ริเริ่มและร่วมกันพัฒนาแอพพลิเคชั่นนี้ขึ้น โดยมิชลินสนับสนุนองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูล บริการสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีพันธมิตรอันทรงเกียรติอีกหลายรายที่ให้การสนับสนุนในขั้นตอนพัฒนาแอพพลิเคชั่น KRISTAL.air อาทิ สหพันธ์การบินแห่งประเทศฝรั่งเศส (Fédération Française Aéronautique), ฝูงบินผาดโผนของกองทัพอากาศฝรั่งเศส (Equipe de Voltige de l’Armée de l’Air), ‘เมลานี แอสเติลส์’ (Mélanie Astles) แชมป์บินผาดโผนสัญชาติฝรั่งเศส, วิศวกรด้านความปลอดภัยของเที่ยวบิน ตลอดจนนักบินและครูการบินจำนวนมาก
ปัจจุบัน แอพพลิเคชั่น KRISTAL.air สามารถแสดงผลได้ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส โดยรองรับการใช้งานกับระบบปฏิบัติการ iOS (iPhone หรือ iPad) ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีที่: https://apps.apple.com/fr/app/kristal-air/id1538117218#?platform=iphone ทั้งนี้ มีกำหนดจะเปิดตัวแอพพลิเคชั่นซึ่งรองรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และแอพพลิเคชั่นซึ่งทำงานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ในเร็ว ๆ นี้
ข่าวรถวันนี้ (8/06/21) ‘มิชลิน’ ลงนามในข้อตกลงจัดหายางล้อเครื่องบินสำหรับการบินทั่วไปครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับ ‘เอ็มเจ็ท’
โดยมิชลินจะเป็นผู้จัดหายางล้อเครื่องบินสำหรับการบินทั่วไปรายหลักให้กับฝูงบินของเอ็มเจ็ท และเอ็มเจ็ทจะเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของยางล้อเครื่องบินสำหรับการบินทั่วไปให้กับมิชลินในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย
มิชลิน ผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยียางล้อระดับโลก และ บริษัท เอ็มเจ็ท จำกัด (เอ็มเจ็ท) ผู้ให้บริการเครื่องบินส่วนบุคคลชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงจัดหายางล้อเครื่องบินสำหรับการบินทั่วไป (General Aviation Tyres) ระยะเวลา 3 ปี ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว มิชลินจะเป็นผู้จัดหายางล้อเครื่องบินสำหรับการบินทั่วไปให้กับฝูงบินของเอ็มเจ็ท ซึ่งประกอบด้วยเครื่องบินหรูรุ่น Cessna, Gulfstream, Hawker, Dassault, Beechcraft, Hondajet และ King Air ขณะเดียวกันเอ็มเจ็ทซึ่งให้บริการซ่อมบำรุงเครื่องบินเป็นหนึ่งในธุรกิจหลัก จะเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของยางล้อเครื่องบินสำหรับการบินทั่วไปให้กับมิชลินในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย
วิรัช ตันสุวรรณนนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและฝ่ายขาย ธุรกิจยางเครื่องบิน ประจำมิชลินภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นประเทศจีน) เปิดเผยว่า “เรารู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติให้จัดหายางล้อเครื่องบินที่มีสมรรถนะสูงสำหรับการบินทั่วไปให้กับฝูงบินที่หรูหราทันสมัยของเอ็มเจ็ท เพื่อนำเสนอความคุ้มค่าและความปลอดภัยสูงสุด ขณะเดียวกัน…ภายใต้ข้อตกลงนี้…เอ็มเจ็ทซึ่งเป็นผู้ให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยานชั้นนำระดับภูมิภาค ยังจะเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของยางล้อเครื่องบินสำหรับการบินทั่วไปให้กับมิชลินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย ทำให้เรามั่นใจว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายในตลาดเหล่านี้จะได้รับบริการก่อนและหลังการขายที่เป็นเยี่ยม”
ชัยวัฒน์ นวราช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็มเจ็ท จำกัด กล่าวว่า “ด้วยชื่อเสียงระดับโลกที่สั่งสมมายาวนานของมิชลิน ประกอบกับผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพสูง เราเชื่อมั่นว่าการผสานพันธมิตรภายใต้ข้อตกลงนี้จะไม่เพียงเอื้อประโยชน์ให้กับเอ็มเจ็ท แต่ยังจะช่วยให้เราสามารถนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของเราด้วย”
ข่าวรถวันนี้ (6/05/2021) : ‘มิชลิน’ ผนึกกำลัง ‘คาร์ไบโอส์’ มุ่งพัฒนายางล้อที่ยั่งยืน 100%
- มิชลินรับรองความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีของ ‘คาร์ไบโอส์’ (Carbios) รีไซเคิลขยะพลาสติกประเภท PET ด้วยเอนไซม์ เพื่อนำมาใช้ในการผลิตยางล้อ
- ‘คาร์ไบโอส์’ ยืนยันความเป็นไปได้ในการนำ PET ที่ได้จากการรีไซเคิลไปใช้งานทุกรูปแบบ ตั้งแต่การผลิตขวดไปจนถึงเส้นใยเสื้อผ้าและเส้นใยที่มีคุณสมบัติพิเศษ (Technical Fibres)
- ผลการทดสอบของมิชลินซึ่งรับรองเทคโนโลยีของ ‘คาร์ไบโอส์’ ถือเป็นก้าวสำคัญสู่การพัฒนายางล้อที่ยั่งยืน 100%
‘มิชลิน’ ผู้นำด้านการสัญจรอย่างยั่งยืน ร่วมกับ ‘คาร์ไบโอส์’ [จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ Euronext Growth Paris โดยใช้ชื่อย่อ ALCRB] บริษัทผู้บุกเบิกโซลูชั่นอุตสาหกรรมชีวภาพใหม่ๆ เพื่อพลิกฟื้นวงจรชีวิตใหม่ให้กับโพลีเมอร์พลาสติกและโพลีเมอร์สิ่งทอ ผนึกกำลังรุกก้าวสู่การพัฒนายางล้อที่ยั่งยืน 100% โดยล่าสุด มิชลินประสบความสำเร็จในการทดสอบและนำกระบวนการรีไซเคิลขยะพลาสติกประเภท PET ด้วยเอนไซม์ของคาร์ไบโอส์ มาใช้ผลิตเส้นใยที่ทนต่อแรงดึงสูงสำหรับเสริมความแข็งแกร่งให้กับยางล้อ (High-Tenacity Tyre Fibres) ตามข้อกำหนดด้านเทคนิคของมิชลิน
การรีไซเคิลด้วยเอนไซม์: กระบวนการใหม่ระดับปฏิวัติวงการ
กระบวนการรีไซเคิลด้วยเอนไซม์ของคาร์ไบโอส์ ใช้เอนไซม์ที่สามารถทำให้โพลิเมอร์ของ PET ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์พลาสติกและสิ่งทอ (อาทิ ขวด ถาด ผ้าใยโพลีเอสเตอร์ ฯลฯ) แตกตัวเป็นโมเลกุลเล็กๆ นวัตกรรมนี้ช่วยให้สามารถนำขยะพลาสติกประเภท PET ทุกประเภทมารีไซเคิลซ้ำได้ไม่สิ้นสุด ทั้งยังช่วยให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภท PET จากการรีไซเคิลได้ 100% ซึ่งสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ 100% โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณภาพเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจาก PET บริสุทธ์
การรีไซเคิล PET ด้วยเอนไซม์เพื่อนำมาใช้ในยางรถยนต์ครั้งแรกของโลก
การนำพลาสติกที่ซับซ้อน (Complex Plastics) มาผ่านกระบวนการรีไซเคิลด้วยความร้อนเชิงกล (Thermomechanical Recycling) แบบดั้งเดิมไม่ทำให้ได้ PET ประสิทธิภาพสูง ซึ่งจำเป็นต่อการใช้งานในระบบนิวเมติกส์ (Pneumatic) แต่โมโนเมอร์ที่ได้จากกระบวนการรีไซเคิลขยะพลาสติกชนิดสีและทึบแสง อาทิ ขวด ของคาร์ไบโอส์ เมื่อผ่านการแปรสภาพกลับมาเป็น PET สามารถนำมาผลิตเป็นเส้นใยที่ทนต่อแรงดึงสูงตามข้อกำหนดในการผลิตยางล้อของมิชลิน
เมื่อผ่านการแปรรูปเป็นเส้นใยด้วยเครื่องต้นแบบเดียวกัน เส้นใยคุณสมบัติพิเศษซึ่งได้จากกระบวนการรีไซเคิลดังกล่าวมีคุณภาพไม่ต่างจากเส้นใยที่ผลิตจาก PET บริสุทธิ์ โดยเส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่ทนต่อแรงดึงสูงนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้ในการผลิตยางล้อ เนื่องจากมีคุณสมบัติต้านทานการปริแตก แข็งแกร่ง และมีเสถียรภาพทางความร้อน
นิโคลัส ซีโบธ (Nicolas Seeboth) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยโพลีเมอร์ของมิชลิน เปิดเผยว่า “เรารู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งที่ประสบความสำเร็จในการผลิตและทดสอบเส้นใยคุณสมบัติพิเศษที่ได้จากการรีไซเคิลเพื่อนำมาใช้ในการผลิตยางล้อเป็นรายแรก เส้นใยเสริมความแข็งแกร่งดังกล่าวผลิตจากขวดพลาสติกชนิดสีที่นำมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลด้วยเอนไซม์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของ ‘คาร์ไบโอส์’ พันธมิตรของเรา โดยเส้นใยเสริมความแข็งแกร่งไฮเทคเหล่านี้ให้ประสิทธิภาพไม่ต่างจากเส้นใยที่ผลิตจากอุตสาหกรรมน้ำมันเลย”
กระบวนการรีไซเคิลด้วยเอนไซม์ของคาร์ไบโอส์ ไม่เพียงช่วยให้มิชลินเข้าใกล้เป้าหมายด้านความยั่งยืนยิ่งขึ้น แต่ยังช่วยส่งเสริมให้ยางล้อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนอย่างแท้จริง ทั้งนี้ มิชลินตั้งเป้าที่จะผลิตยางล้อโดยใช้วัตถุดิบที่ยั่งยืน (จากทรัพยากรหมุนเวียนหรือรีไซเคิล) ให้ได้ในสัดส่วน 40% ภายในปี 2573 และ 100% ภายในปี 2593
กระบวนการรีไซเคิลของ ‘คาร์ไบโอส์’ ได้รับการยืนยันว่ามีศักยภาพที่ดี
ความสำเร็จครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในฐานะนวัตกรรมครั้งแรกในภาคอุตสาหกรรมยางล้อของโลก ทั้งยังยืนยันให้เห็นว่ากระบวนการรีไซเคิลของคาร์ไบโอส์ มีศักยภาพที่จะนำภาคอุตสาหกรรมเปลี่ยนผ่านอย่างมีความรับผิดชอบไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนอย่างยั่งยืนได้
ยอดจำหน่ายยางรถยนต์ทั่วโลกในแต่ละปีอยู่ที่ 1.6 พันล้านเส้น (ยอดรวมของผู้ผลิตยางล้อทุกค่าย) โดยเส้นใย PET ที่ใช้ในการผลิตยางล้อเหล่านี้คิดเป็นปริมาณ PET 800,000 ตันต่อปี ในกรณีของมิชลิน ปริมาณเส้นใยคุณสมบัติพิเศษซึ่งได้จากการรีไซเคิลเพื่อนำมาใช้ผลิตยางของมิชลิน เทียบได้กับปริมาณขวดพลาสติกราว 3 พันล้านขวดต่อปี
อแลง มาร์ตี้ (Alain Marty) หัวหน้าเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ของคาร์ไบโอส์ กล่าวว่า “เมื่อปี 2562 คาร์ไบโอส์ ได้ประกาศความสำเร็จในการผลิตขวดพลาสติกประเภท PET จากกรดเทเรฟธาลิกบริสุทธ์ (rPTA) 100% เป็นครั้งแรก ซึ่งกรดดังกล่าวได้จากการนำขยะพลาสติกประเภท PET ที่ใช้งานแล้วมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลด้วยเอนไซม์ ในวันนี้เราก้าวสู่ความสำเร็จอีกขั้น โดยได้ร่วมกับมิชลินแสดงให้เห็นศักยภาพของกระบวนการรีไซเคิลขยะพลาสติก PET ด้วยวิธีนี้ ซึ่งทำให้ได้ PET ที่เหมาะสำหรับใช้ผลิตเส้นใยที่มีคุณสมบัติพิเศษขั้นสูง อาทิ เส้นใยที่ใช้ในการผลิตยางมิชลิน”.
ข่าวรถวันนี้ (30/04/2021) : ‘มิชลิน’ ได้รับเลือกเป็นซัพพลายเออร์ยางล้อเครื่องบินเพียงรายเดียวสำหรับฝูงบินของสายการบิน ‘แอร์ พรีเมีย’
สายการบิน ‘แอร์ พรีเมีย’ (Air Premia) ซึ่งมีฐานการบินอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติโซล อินชอน ประเทศเกาหลีใต้ จะเริ่มให้บริการเที่ยวบินภายในภูมิภาคเอเชียไปยังกรุงฮานอย (ประเทศเวียดนาม) และกรุงโตเกียว (ประเทศญี่ปุ่น) เร็ว ๆ นี้ โดยมีแผนที่จะให้บริการเที่ยวบินบนเส้นทางบินระหว่างทวีปในปีต่อ ๆ ไป ทั้งนี้ ภายในปี 2567 ‘แอร์ พรีเมีย’ ตั้งเป้าที่จะติดตั้งยาง ‘มิชลิน แอร์ เอ็กซ์’ (MICHELIN Air X) ที่มาพร้อมเทคโนโลยียางล้อที่แทบไม่มีการขยายตัว หรือ Near Zero Growth (NZG) อันเป็นสิทธิบัตรเฉพาะของมิชลิน ให้กับฝูงบินซึ่งประกอบด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 787-9 จำนวน 10 ลำ
เทคโนโลยี NZG พัฒนาขึ้นในระยะแรกสำหรับเครื่องบินเจ็ทความเร็วเหนือเสียง หรือ “คอนคอร์ด” (Concorde) เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและการดำเนินงานที่เข้มงวด เนื่องจากยางล้อเครื่องบินใช้แรงดันลมยางสูง (20 บาร์) เมื่อเทียบกับยางล้อประเภทอื่น (2.5 บาร์ สำหรับยางรถยนต์) เพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักเครื่องบินทั้งลำได้ ทั้งนี้ การเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงเพื่อนำเครื่องขึ้นหรือร่อนลงจอดอาจส่งผลให้ยางล้อเครื่องบินขยายตัวจากแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ แต่ด้วยเทคโนโลยี NZG ที่ช่วยลดการขยายตัวของยางตามแนวเส้นผ่าศูนย์กลาง ส่งผลให้ยางมีความคงทนและทนทานต่อความเสียหายอันเกิดจากวัสดุแปลกปลอมได้ดียิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยี NZG มาใช้ในยาง ‘มิชลิน แอร์ เอ็กซ์’ (MICHELIN Air X) ช่วยให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจโดยรวมของสายการบินฯ ลดลงเมื่อเทียบกับการใช้ยางเรเดียลมาตรฐานทั่วไป เนื่องจากยาง ‘มิชลิน แอร์ เอ็กซ์’ สามารถรองรับจำนวนครั้งในการนำเครื่องร่อนลงจอดได้สูงกว่าปกติถึงร้อยละ 30 ทั้งยังมีประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงดียิ่งขึ้นและมีความทนทานต่อความเสียหายเป็นเยี่ยม นอกจากนี้ เทคโนโลยี NZG ยังช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับยางและลดความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ส่งผลให้ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดต่ำลงตามไปด้วย
วิรัช ตันสุวรรณนนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและฝ่ายขาย ธุรกิจยางเครื่องบิน ประจำมิชลินภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นประเทศจีน) เปิดเผยว่า “เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ ‘แอร์ พรีเมีย’ ให้ความไว้วางใจเลือกมิชลินเป็นพันธมิตรผู้ดำเนินการติดตั้งยางล้อให้กับเครื่องบินโบอิ้ง 787-9 ทุกลำทั้งฝูงบิน ทั้งนี้ ยาง ‘มิชลิน แอร์ เอ็กซ์’ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้งานกับเครื่องบินรุ่นใหม่ เนื่องจากไม่เพียงรับประกันความปลอดภัยขั้นสูงท่ามกลางสภาพแวดล้อมการใช้งานแบบสุดขั้ว แต่ยังรองรับการร่อนลงจอดหลายครั้งและช่วยประหยัดเชื้อเพลิงได้มากขึ้น จึงช่วยให้โลกพัฒนาไปอย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น”
คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับยางล้อเครื่องบินของมิชลินได้ที่: https://aircraft.michelin.com/
ข่าวรถวันนี้ (23/04/2021) : ‘มิชลิน’ เปิดห้องปฏิบัติการที่ใช้ระบบอัตโนมัติผลิตหน้ากากอนามัย ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ประเทศฝรั่งเศส
- ด้วยงบลงทุน 3.5 ล้านยูโร ห้องปฏิบัติการดังกล่าวจะผลิตหน้ากากอนามัยได้ 4 ล้านชิ้นต่อเดือน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของธุรกิจในเครือและสังคมโดยรวม
- ‘มิชลิน’ ผสานพันธมิตรกับ ‘เซรา’ (CERA) บริษัทสัญชาติฝรั่งเศส ผลักดันการผลิต ‘เครื่องจักรผลิตหน้ากากอนามัย’ สู่ระดับอุตสาหกรรมในประเทศฝรั่งเศส
ล่าสุด มิชลินได้ยกระดับความมุ่งมั่นในการผลิตหน้ากากอนามัย ด้วยการเปิดห้องปฏิบัติการที่ใช้ระบบอัตโนมัติผลิตหน้ากากอนามัยขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศฝรั่งเศส ณ โรงงานที่เมืองกอมโบด ใกล้กับเมืองแกลร์มง-แฟร็อง ภายใต้งบลงทุน 3.5 ล้านยูโร ห้องปฏิบัติการแห่งนี้สามารถผลิตหน้ากากอนามัยมาตรฐานทางการแพทย์ (Surgical Mask) แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ประเภท I หรือ IIR ได้ถึง 3 ล้านชิ้นต่อเดือน โดยตั้งแต่ฤดูร้อนปี 2564 เป็นต้นไป จะเพิ่มการผลิตหน้ากากอนามัยประเภท FFP2* อีก 1 ล้านชิ้นต่อเดือน
ห้องปฏิบัติการผลิตหน้ากากอนามัยดังกล่าวจัดสร้างขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่จะปกป้องพนักงานมิชลินจำนวน 68,000 รายในยุโรป โดยผลผลิตส่วนเกินจะถูกนำออกจำหน่ายเพื่อสนับสนุนการต่อสู้กับโรคระบาดต่างๆ
พื้นที่ห้องปฏิบัติการดังกล่าวประกอบด้วยห้องที่มีมาตรฐานความสะอาดของอากาศอยู่ที่ระดับ 9 จำแนกตามปริมาณฝุ่นละออง (ISO Standard 14644-1)** ทั้งนี้ ในขั้นตอนของการพัฒนาและการยื่นขอใบรับรอง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ของประเทศฝรั่งเศสที่ EN 14683 2019 มิชลินได้ขอคำแนะนำและความช่วยเหลือจากห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองซึ่งตั้งอยู่ในประเทศสเปน, ห้องปฏิบัติการของฝรั่งเศสในเครือ INSERM, ห้องปฏิบัติการทดสอบการเข้ากันได้ทางชีวภาพ (Biocompatibility) Icare และโรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยแกลร์มง-แฟร็อง
การร่วมพันธมิตรระหว่าง ‘มิชลิน’ และ ‘เซรา’ เพื่อยกระดับวิศวกรรมกระบวนการของเครื่องจักร
เครื่องจักรบางส่วนที่ใช้ในห้องปฏิบัติการผลิตแห่งใหม่นี้มาจาก ‘เซรา’ (CERA) บริษัทสัญชาติฝรั่งเศส ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อเรียกร้องของรัฐบาลฝรั่งเศสที่ต้องการให้ย้ายฐานการผลิตอุปกรณ์การแพทย์มาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ‘เซรา’ ซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองวิลยาร์ (Villars) ในเขตโอแวร์ญ-โรนาลป์ (Auvergne-Rhône-Alpes) ได้ขอความร่วมมือจากมิชลินผ่านทาง ‘อิเมกา’ (Imeca) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือกลุ่มมิชลิน โดยมีเป้าหมายเพื่อนำทักษะความเชี่ยวชาญทางวิศวกรรมของมิชลินมาช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตเครื่องจักรใหม่ๆ ให้เป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น ความร่วมมือดังกล่าวประกอบกับบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบชิ้นส่วนอีก 5 รายที่เข้าร่วมโครงการฯ นี้ ส่งผลให้ ‘เซรา’ มีศักยภาพในการผลิตเครื่องจักรรายปีเพิ่มขึ้นจาก 2 เครื่อง เป็น 52 เครื่อง
* ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการยื่นขอใบรับรอง APAVE สำหรับหน้ากากอนามัยประเภท FFP2 ** มาตรฐานระดับ 9 หมายถึงมีค่าความชื้นของสภาพแวดล้อมในการผลิตและการเก็บรักษาไม่เกินร้อยละ 70
ข่าวรถวันนี้ (19/04/2021) ‘มิชลิน’ ชูกลยุทธ์ “ความยั่งยืนทุกด้าน” รุกก้าวสู่ปี 2573 ภายใต้แนวคิด MICHELIN IN MOTION
- กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน
- มุ่งขยายธุรกิจเข้าสู่ช่องทางการเติบโตใหม่ ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับยางล้อ
- ตั้งเป้าบรรลุหมุดหมายแรกแห่งความสำเร็จในปี 2566
งานประกาศแผนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ต่อกลุ่มนักลงทุน หรือ Capital Markets Day ของกลุ่มมิชลิน มร.ฟลอรองต์ เมอเนโกซ์ (Florent Menegaux) ประธานกรรมการจัดการ, มร.อีฟ ชาโป (Yves Chapot) ผู้จัดการทั่วไปและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ตลอดจนกรรมการบริหารกลุ่มมิชลินทั้งคณะ ได้ร่วมกันนำเสนอแผนกลยุทธ์ “ความยั่งยืนทุกด้าน” (All Sustainable) ของกลุ่มมิชลินเพื่อก้าวสู่ปี 2573 ภายใต้แนวคิด MICHELIN IN MOTION
โดย มร.เมอเนโกซ์ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ “ความยั่งยืนทุกด้าน” บนพื้นฐานของความพยายามสร้างสมดุลระหว่างผู้คน (People), ผืนโลก (Planet) และผลกำไร (Profit) พร้อมทั้งเผยถึงเป้าหมายของกลุ่มมิชลินในปี 2573 ซึ่งเชื่อมโยงกับดัชนีชี้วัด 12 ประการ ที่ครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ไปจนถึงผลประกอบการทางสังคมและทางการเงินนอกจากนั้น มร.เมอเนโกซ์ ยังเน้นถึงความมุ่งมั่นของกลุ่มมิชลินที่จะบรรลุเป้าหมายดังต่อไปนี้
ผู้คน
- มีอัตราความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรมากกว่าร้อยละ 85
- เพิ่มสัดส่วนผู้หญิงในตำแหน่งบริหารให้ถึงร้อยละ 35
- กำหนดค่ามาตรฐานทั่วโลกสำหรับความปลอดภัยในที่ทำงาน โดยมุ่งให้มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน (Total Case Incident Rate: TCIR) ต่ำกว่า 0.5
ผืนโลก
- ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมประเภท (Scope) ที่ 1 และ 2 ลงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปี 2553 รวมทั้งลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมประเภทที่ 3 ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาคการคมนาคมขนส่งลงให้ได้อย่างชัดเจน โดยทุกประเภทมีเป้าหมายร่วมกันคือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ภายในปี 2593
- เพิ่มสัดส่วนการใช้วัตถุดิบที่ยั่งยืนในผลิตภัณฑ์ให้อยู่ที่ร้อยละ 40 ภายในปี 2573 เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายที่จะใช้วัตถุดิบที่ยั่งยืนทั้งหมด หรือ ร้อยละ 100 ภายในปี 2593
ผลกำไร
- ขับเคลื่อนการเติบโตแบบยั่งยืนต่อเนื่อง โดยมียอดขายระหว่างปี 2566-2573 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5 ต่อปี หลังจากวิกฤติที่สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สิ้นสุดลง
- มีสัดส่วนยอดขายจากธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับยางล้ออยู่ที่ร้อยละ 20-30 เพื่อเสริมสร้างคุณค่าที่สำคัญโดยมีอัตราผลตอบแทนจากเงินทุน (Return On Capital Employed: ROCE) ระหว่างปี 2566-2573 อยู่ที่มากกว่าร้อยละ 10.5
ช่องทางการเติบโตทางธุรกิจใหม่ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับยางล้อ
มิชลินจะขยายตัว ลงทุน และคิดค้นนวัตกรรมใหม่ในธุรกิจยางอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มการเดินทางสัญจรหลังวิกฤติโควิด-19 และการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าถือเป็นโอกาสในการเติบโตของกลุ่มมิชลิน ซึ่งมุ่งมั่นพัฒนาความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีที่เหนือกว่าในด้านการออกแบบและผลิตยางล้อสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะมาโดยตลอด ในภาคการขนส่งทางบก กลุ่มมิชลินจะให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่า ขณะที่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยางรถเหมือง ยางรถตักดิน ยางรถเพื่อการเกษตร ยางล้อเครื่องบิน และยางรถยนต์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ มิชลินจะยังคงเป็นผู้กำหนดบรรทัดฐานด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่โดดเด่นแตกต่าง
ด้วยศักยภาพด้านนวัตกรรมและความเชี่ยวชาญด้านวัสดุ มิชลินมุ่งขับเคลื่อนการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งไปยัง ‘ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยาง’ และ ‘ธุรกิจอื่นนอกเหนือจากยาง’ รวม 5 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ บริการและโซลูชั่น (Services & Solutions), วัสดุคอมโพสิตชนิดยืดหยุ่น (Flexible Composites), เครื่องมือแพทย์ (Medical Devices), การพิมพ์โลหะ 3 มิติ (Metal 3D Printing) และการสัญจรด้วยพลังงานไฮโดรเจน (Hydrogen Mobility)
- สำหรับธุรกิจบริการและโซลูชั่น กลุ่มมิชลินกำลังขยายโซลูชั่นด้านธุรกิจเดินรถขนส่งให้มีความหลากหลายและครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำวัตถุอัจฉริยะ (Smart Objects) และข้อมูลที่จัดเก็บได้มาเพิ่มคุณค่าให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น
- มิชลินตั้งเป้ารุกขยายธุรกิจอย่างจริงจังในตลาดวัสดุคอมโพสิตชนิดยืดหยุ่น [อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor), สายพาน (Belt), ผ้าเคลือบ (Coated Fabrics), ซีลปิดผนึก (Seals) ฯลฯ ] ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยกลยุทธ์การเข้าซื้อและควบรวมกิจการเพื่อเสริมสร้างคุณค่า รวมทั้งการบ่มเพาะธุรกิจใหม่ๆ
- เครื่องมือแพทย์เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตต่อเนื่องในอีกหลายปีข้างหน้า
- ในด้านการพิมพ์โลหะ 3 มิติ กลุ่มมิชลินได้พัฒนาความเชี่ยวชาญที่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพของ ‘แอ๊ดอัพ’ (Add Up) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ‘มิชลิน’ กับ ‘ไฟฟ์ส’ (Fives) ในการทำตลาดโซลูชั่นหลากหลายรูปแบบตามความต้องการของผู้ผลิตเฉพาะราย
- สำหรับการสัญจรด้วยพลังงานไฮโดรเจน กลุ่มมิชลินมุ่งเป็นผู้นำระดับโลกด้านระบบเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนผ่าน ‘ซิมบิโอ’ (Symbio) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ‘มิชลิน’ กับ ‘โฟเรอเซีย’ (Faurecia)
ตั้งเป้าบรรลุหมุดหมายแรกแห่งความสำเร็จในปี 2566
ภายในงาน Capital Markets Day มิชลินยังได้นำเสนอปัจจัยขับเคลื่อนขีดความสามารถทางการแข่งขันเชิงอุตสาหกรรมหลายประการ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อคำนึงถึงภาวะเงินเฟ้อแล้ว (Net of Inflation) ได้สูงถึง 80 ล้านยูโรต่อปี ระหว่างปี 2563-2566 ยิ่งกว่านั้น ยังจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายทั่วไป และค่าใช้จ่ายทางธุรการ (SG&A) ในธุรกิจยาง เมื่อคำนึงถึงภาวะเงินเฟ้อแล้ว ลงได้ 65 ล้านยูโร ภายในปี 2566 และ 125 ล้านยูโร ภายในปี 2568
จากนั้น มร.อีฟ ชาโป ได้ประกาศเป้าหมายทางการเงินของกลุ่มมิชลินในปี 2566 โดยคาดการณ์ว่าในปีดังกล่าวจะมียอดขายอยู่ที่ราว 24.5 พันล้านยูโร, รายได้จากการดำเนินงานตามส่วนงาน (Segment Operating Income) อยู่ที่มากกว่า 3.3 พันล้านยูโร, กระแสเงินสดอิสระเชิงโครงสร้าง (Structural Free Cash Flow) [ยอดรวมปี 2565 และ 2566] อยู่ที่ 3.3 พันล้านยูโร และอัตราผลตอบแทนจากเงินทุน (Return On Capital Employed: ROCE) อยู่ที่ร้อยละ 10.5
นอกจากนี้ กลุ่มมิชลินยังได้เริ่มคำนวณต้นทุนของผลกระทบภายนอกเชิงลบ (Negative Externalities) บางประการ อาทิ ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งปริมาณการใช้น้ำและสารทำละลาย ทั้งยังมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบเหล่านั้นลงราวร้อยละ 10 ภายในปี 2566
อีกทั้งกลุ่มมิชลินยังได้ตัดสินใจปรับนโยบายเงินปันผล โดยกำหนดเป้าหมายใหม่ในปี 2564 ที่จะจ่ายเงินปันผลในสัดส่วนร้อยละ 50 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ (Non-Recurring Items)
ภายในงาน มร.เมอเนโกซ์ ได้เปิดเผยว่า “ภายใต้แผนกลยุทธ์ใหม่ MICHELIN IN MOTION กลุ่มมิชลินได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตใน 10 ปีข้างหน้าเอาไว้สูงมาก ผมเชื่อว่าความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรและศักยภาพด้านนวัตกรรมของทีมงานจะช่วยให้เรารักษาสมดุลระหว่างผลประกอบการทางธุรกิจที่ยั่งยืน, การพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพันธกิจต่อผืนโลกและชุมชนที่เราเข้าไปดำเนินงาน เอาไว้ได้อย่างดี แม้จะยังคงยึดมั่นในจิตวิญญาณดั้งเดิมของเรา แต่ภายในปี 2573 ภาพรวมธุรกิจของกลุ่มมิชลินจะเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ โดยเราจะเร่งขยายกิจการไปยังธุรกิจใหม่ๆ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ทั้งในตลาดที่เกี่ยวข้องกับยางและตลาดอื่นนอกเหนือจากยาง ศักยภาพในการปรับตัวเพื่อนำเสนอสิ่งใหม่ได้ตลอดเวลาเช่นนี้ไม่เพียงเป็นคุณสมบัติที่เสริมความแข็งแกร่งให้กับมิชลินมานานกว่า 130 ปี แต่ยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเราในการก้าวสู่อนาคตด้วย”
มร.ชาโป ยังได้กล่าวเสริมว่า “ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติในปัจจุบันและภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน มิชลินได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพพื้นฐานในการปรับตัวได้ดีต่อปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนการมีโมเดลธุรกิจที่เหมาะสม สำหรับ MICHELIN IN MOTION ซึ่งเป็นแผนกลยุทธ์ใหม่ของมิชลิน จะช่วยให้กลุ่มมิชลินมีแนวทางในการขับเคลื่อนการเติบโตรูปแบบใหม่ๆ และลดผลกระทบภายนอกเชิงลบหลักๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มิชลินจะพัฒนาการดำเนินธุรกิจด้านยางอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ ร่วมด้วย โดยมุ่งเน้นการรักษาสถานะงบดุลและกำไรขั้นต้นให้แข็งแกร่ง”
ข่าวรถวันนี้ (12/03/2021) : มิชลิน จัดโปรโมชั่นสุดคุ้ม แจกฟรี บัตรเงินสดเทสโก้โลตัส มูลค่าสูงสุด 800 บาท เมื่อซื้อยาง 4 เส้น
มิชลิน แม้เวลาจะเปลี่ยนไป…ความมั่นใจไม่เปลี่ยนแปลง จัดโปรโมชั่นพิเศษเอาใจนักเดินทาง เพียงซื้อยางรถยนต์มิชลิน 4 เส้น ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 30 เมษายน 2564 รับฟรี บัตรเงินสดเทสโก้โลตัส มูลค่าสูงสุด 800 บาท ตามเงื่อนไขดังนี้
- บัตรเงินสดเทสโก้โลตัส มูลค่า 800 บาท เมื่อซื้อยางรถเก๋งหรือยางรถเอสยูวี ทุกรุ่นของมิชลิน ขนาดขอบ 17 นิ้วขึ้นไป จำนวน 4 เส้น
- บัตรเงินสดเทสโก้โลตัส มูลค่า 600 บาท เมื่อซื้อยางรถกระบะ อะจิลิส 3 ขนาด 205/70R15, 215/70R15, 215/65R16 หรือ 215/70R16 จำนวน 4 เส้น
- บัตรเงินสดเทสโก้โลตัส มูลค่า 500 บาท เมื่อซื้อยางรถเก๋งหรือยางรถเอสยูวี ทุกรุ่นของมิชลิน ขนาดขอบ 15-16 นิ้วขึ้นไป จำนวน 4 เส้น
- บัตรเงินสดเทสโก้โลตัส มูลค่า 300 บาท เมื่อซื้อยางรถเก๋งหรือยางรถเอสยูวี ทุกรุ่นของมิชลิน ขนาดขอบ 13-14 นิ้วขึ้นไป จำนวน 4 เส้น