รถยนต์ไฟฟ้า กระแสดีจริงหรือ ?
ข่าวรถวันนี้ : รถยนต์ไฟฟ้า กระแสดี จริงหรือ ?
ต้องยอมรับว่า นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐของเราช่วยกระตุ้นให้ยอดขายรถไฟฟ้าดีขึ้นแบบแจ้งเกิดเลยก็ว่าได้ แน่นอนว่านักลงทุนกลุ่มที่ได้เปรียบสุด คือนักลงทุนจากประเทศจีน ได้ทั้งสิทธิทางภาษีนำเข้าพิเศษและนโยบายเสริมจากภาครัฐ ฯ ทำให้ แบรนด์รถยนต์จีน แจ้งเกิด ในบ้านเราอย่างรวดเร็ว ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ ในยุคเครืองยนต์สันดาป หรือไฮบริด แบรนด์รถยนต์จีนในบ้านเรา แทบไม่ได้รับการยอมรับเลย มีเพียงค่าย MG เท่านั้น ที่พอจะสร้างแบรนด์และความเชื่อมั่นขึ้นมาเองได้ แต่ก็ต้องอาศัยระยะเวลาเกือบ 10 ปี ส่วนแบรนด์อื่น ๆ ที่โผล่เข้ามาทำตลาดแทบหาทางเก็บกระเป๋ากลับบ้านไม่ทัน สาเหตุหนึ่ง คือ เรื่องเทคโนโลยีและคุณภาพ ทุกอย่าง สู้ค่ายญี่ปุ่นไม่ได้
และน่าจะเป็นบาดแผลสำคุญที่ทำให้ค่ายจีน กลับไปศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนซื้อเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากต่างชาติ เข้าไปซื้อกิจการซื้อหุ้นต่าง ๆ ของรถยนต์แบรนด์ดัง ๆ ทั่วโลกมากมาย รวมทั้งยังเปิดเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์ในแบรนด์จต่าง ๆ มากมาย ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์จีน ก้าวล้ำไปได้อย่างรวดเร็ว ต่อมาไม่นานมีการผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลกเกิดขึ้นากมาย ทั้งภาวะสงครามและข้อกังวลถึงปริมาณน้ำมันดิบ ที่สามารถนำไปใช้เป็นพลังงานหลัก ลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ เป็นจุดที่ทำให้เกิดการมองหาพลังงานทดแทนอื่น ๆ มาใช้ สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งแน่นอนที่สุดว่า ยักษ์ใหญ่อย่างจีนที่ซุ่มพัฒนายานยนต์ไฟฟ้ามาโดยตลอด จึงมีความพร้อมสูงสุด ทั้งด้านการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า การผลิตแบตเตอรี่ เพราะมีแร่ลิเธียมที่สำคัญและโรงงานผลิตแบตเตอรี่ ขนาดใหญ่มากมาย ซึ่งแม้กระทั้งค่ายรถยนต์ชื่อดังอย่าง Tesla ฝั่งอมเริกา หรือ Mercedes-Benz ฝั่งยุโรป ก็ยังต้องอาศัยแบตเตอรี่ อาศัยเทคโนโลยีจากจีน
กลับมาดูทางฝั่งค่ายญีปุ่น การพัฒนาเทคโนโลยีของค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นนั้่น ต้องบอกว่า มีความหลากหลายมาก อีกหนึี่งเทคโนโลยี ของค่ายรถยนต์จากญี่ปุ่นที่มีการพัฒนา คือ เทคโนโลยี Fuel Cell หรือ เซลล์เชื้อเพลิง เป็นเวลล์ไฟฟ้าเคมีที่เปลี่ยนพลังงานเคมี จากเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งให้เป็นกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีการพัฒนามานานมาก และมีการผลิตและจำหน่ายในต่างประเทศไปแล้ว โดยค่ายรถยนต์ โตโยต้า ในนาม โตโยต้า มิไร อาศัยเชื้อเพลิงจากไฮโดรเจนเหลว แปรเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้ามาขับเคลื่อน เช่นเดียวกับค่ายรถยนต์ ฮอนด้า ที่พัฒนาเทคโนโลยีนี้เช่นกัน
แต่ดูเหมือนตลาดโลก จะให้ความสำคัญ ให้การยอมรับกับรถยน์ไฟฟ้า มากกว่า ทำให้ไปเข้าทางพี่ใหญ่อย่างจีน ที่มีความพร้อมและทุ่มเทในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า มาตลอด ต่างจากค่ายญี่ปุ่น ที่พัฒนารถยนต์ไฟฟ้า เหมือนกัน แต่ไม่ได้เน้นในการทำตลาดเชิงพาณิชย์ทั่วโลกเหมือนจีน ถึงจะมีบ้างแต่ก็ไม่มาก อย่างค่ายนิสสัน ก็จะมี นิสสัน ลีฟ นิสสัน อารียา ค่ายฮอนด้า จะเป็น ฮอนด้า อี ในหลากหลายเวอร์ชั่น ค่ายโตโยต้า ก็จะมี บีซีโฟร์เอ็กซ์ เป็นต้น ต่างจากประเทศจีน ที่่มีค่ายรถยนต์ทั่วโลกตั้งโรงงานอยู่ที่นั่น ในหลากหลายมณฑล จึงมีได้เปรียบในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในยุคแรก ๆ นี้ พร้อมกับสร้างแบรนด์เกิดใหม่รวมถึงต่อยอดจากแบรนด์ที่่มีชื่อเสียงระดับโลกมาแล้ว ได้ไม่ยาก
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจีนจะมีความพร้อม สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในยุคนี้ มาก ๆ แต่นี่ก็เป็นการพัฒนาของยานยนต์ไฟฟ้ายุคแรกเท่านั้น ถ้าเป็นการต่อยมวยก็คือระฆังยกแรกเพิ่งจะดัง เท่านั้นเอง ซึ่งผู้บริโภคในแต่ละประเทศ ก็จะมีความต้องการ ความจำเป็นในการใช้รถแตกต่างเช่นกัน รวมถึงการสนับจากภาครัฐ ความพร้อมของจุดชาร์จไฟต่าง ๆ ความพร้อมของศูนย์บริการ สิ่งเหล่านี้ เป็นข้อได้เปรียบของค่ายรถยนต์จากประเทศญีปุ่น ที่วางรากฐานในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี รู้ถึงความต้องการของผู้บริโภค เป็นจุดที่ได้เปรียบค่ายจีนอย่างชัดเจน
ในขณะที่ค่ายจีน โดยเฉพาะ แบรนด์ใหม่ ๆ ที่เข้ามาทำตลาด อาศัยการทำข้อตกลงจากภาครัฐ ลงเสาเข็มตั้งโรงงานประกอบ พร้อมแถลงข่าว จากนั้นก็ขนรถลงเรือ มาขายในบ้านราอย่างรวดเร็ว โดยอาศัย อินฟูเอนเซอร์ และ ยูทูปเบอร์ สร้างสตอรี่ ปั้นแบรนด์แบบฉาบฉวย ตามสมัยนิยม เท่่านั้น มีเพียง 2 ค่าย ที่เข้ามาทำตลาดบ้านเราแบบเข้าถึงและเข้าใจผู้บริโภค นั่นก็คือ แบรนด์ MG และ BYD ที่ส่วนใหญ่ จะอาศัยทีมบริหารจากคนไทยที่มีประสบการณ์ตรง โดยค่า MG จับมือกับกลุ่ม CP ยักษ์ใหญ่ด้านการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยและจีน ส่วน BYD ก็จับมือกับกลุ่มสยามกลการ ผู้บุกเบิกแบรนด์นิสสัน ในอดีต ซึ่งปัจจุบันยังดำเนินะูกิจด้านอะไหลายานยนต์มากมาย สำหรับ GWM จะได้ทีมบริหารคนไทย ช่วยกันปั้นแบรนด์ ปั้นโชว์รูมผุดขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วประเทศเช่นกัน ทำให้ทั้ง 3 แบรนด์นี้ เป็นแบรนด์ที่่จับตา สำหรับการทำตลาดในประเทศไทย เพราะค่อนข้างมีความเข้าใจในการสร้างแบรนด์ สร้งความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนแบรนด์อื่น ๆ ที่ทำตลาด นั่นยังไม่เข้าตากรรมการแน่นอน
คำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ สำหรับคนที่กำลังศึกษารายละเอียด
1. จะซื้อรถไฟฟ้าก็ควรขับใช้งานเยอะๆ ใช้งานประจำ วิ่งให้คุ้ม ในช่วงการรับประกันแบตเตอรี่
2. อย่าไปถามหาอนาคต เรื่องราคาขายต่อ เพราะเราโตไปพร้อมๆ กับรถไฟฟ้า ตอนนี้ใช้มันให้คุ้มค่าก็พอ
3. แบตเตอรี่ ถ้าเลยระยะประกันแล้ว ยังมีเก็บสำรองไว้ให้เราอีกนานแค่ไหน เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ทั้งแบตเตอรี่แบบ CATL และ Solid State ซึ่งเล็กกว่า บางกว่าและเบากว่าเป็นเท่าตัว แถมยังชาร์จได้เร็ว จัดเก็บไฟได้มากกว่าด้วย ถ้าเปลี่ยนไปใช้แบตเตอรี่แบบใหม่แล้ว โรงงานจะผลิตให้รถรุ่นเก่าๆ ด้วยหรือไม่
4. การเลือกซื้อรถ อย่าดูที่ความสวยงามของตัวรถอย่างเดียว เพราะรถไฟฟ้า ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก ต้นทุนรถไฟฟ้าอยู่ที่ขนาดของแบตเตอรี่ และ กำลังของมอเตอร์ เป็นหลัก ดังนั้นกระดองที่เอามาครอบ ก็ให้นึกถึงรถไฟฟ้าที่เราเล่นสมัยเด็กๆ จะเลือกสไตล์ไหนแบบไหนก็ได้ แต่สิ่งสำคัญที่สุด งานประกอบและวัสดุต้องดี ตัวรถดูแข็งแรง ส่วนเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ ขนาดหน้าจอเครื่องเสียง จออินเตอร์เฟสและระบบความปลอดภัยชั้นสูง ก็เหมือนหยิบออกมาจากเข่งเดียวกัน
5. แพลตฟอร์มก็ด้วย ยุคนี้ส่วนใหญ่จะใช้เป็น e-platform แทบจะทุกยี่ห้อ ข้อดีน้ำหนักเบา ถูกออกแบบมาใช้กับรถไฟฟ้าโดยเฉพาะ ทำให้มีความเหมาะสมในการจัดวางแบตเตอรี่ได้มาก แต่ก็อย่าไปหลงไหลกับราคาคุยถึงระยะฐานล้อ ที่ยาวเท่านั้นเท่านี้ เพราะนั่นคือพื้นที่ในการใช้ติดตั้งแบตเตอรี่นั่นเอง
6. สิ่งที่ควรใส่ใจคือ การติดตั้งแบตเตอรี่ มีการติดตั้งไว้แน่นหนาแค่ไหน การปกป้อง การป้องกันเป็นแบบไหน แน่นหนาและแข็งแรงมากหรือไม่ รวมถึง Ground Clearance ความสูงจากพื้นถึงใต้ท้องรถ อยู่ที่เท่าไหร่ และประกันชั้น1 ครอบคลุมความรับผิดชอบมากน้อยแค่ไหน
7. มอเตอร์ไฟฟ้า ก็เช่นเดียวกัน สมรรถนะต่างๆ ที่ชอบคุยว่า 0-100 กม./ชั่วโมง ว่ามันได้เท่าไหร่ มันไม่ควรจะมาเป็นเรื่องหลัก บ้านเราทะลุ 120 กม./ชั่วโมง ใบสั่งก็บินมาที่ตู้ไปรษณีย์แล้ว บางคนไปเปรียบเทียบกับซูเปอร์คาร์ ไฮเปอร์คาร์ มันคนละอารมณ์กันครับ มันก็แค่ทำได้ แต่อย่าลืมว่ายิ่งทำมั้นก็ยิ่งสึกหรือ เหมือนรถเครื่องยนต์นั่นแหละ เช่นเดียวกับพลังงานด้วย ยิ่งเร่ง ยิ่งแรง มันก็จะกินไฟ กินน้ำมัน เหมือนกัน ซึ่งต้องมาดูด้วยว่าแรงเหมือนรถสปอร์ตแล้ว ระบบเบรก ช่วงล่าง ถูกเซ็ทมาให้รองรับการใช้งานในสไตล์นั้นด้วยหรือเปล่า เพราะยิ่งขับเร็วมันก็ยิ่งอันตราย นั่นเอง อย่ามาคุยว่าเรามีระบบความปลอดภัยขั้นสูงไว้ป้องกันมากมาย อย่าลืมว่าเราต้องมองถึง Active Safety และ Passive Safety มีระบบความปลอดภัยทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุ สำหรับเรื่องความแรง เอาไว้ดูเป็นส่วนประกอบในการตัดสินใจก็พอ
8. กล่องคอนโทรลและกล่องควบคุมต่างๆ ของมอเตอร์ไฟฟ้า และ แบตเตอรี่ ได้รับการติดตั้งอยู่ในตำแหน่งไหนบ้าง ภายในรถหรือนอกรถ มีการปกป้องไว้แน่นหนาแค่ไหน กันน้ำได้เยอะหรือไม่ ถ้ามีเหตุฉุกเฉินที่จะต้องลุยน้ำไม่เกิน 30 ซม. จะรอดไหม ประกันที่ทำเอาไว้จะครอบคลุมทั้งหมดใช่หรือไม่
9. สิ่งสำคัญมากที่จะต้องพูดถึงเลยคือ จำนวนโชว์รูมและศูนย์บริการ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต มีครอบคลุมมากน้อยแค่ไหน ทิศทางการเติบโตในอนาคตจะเป็นอย่างไรบ้าง การสำรองอะไหล่ให้กับรถรุ่นต่างๆ มีเพียงพอ และมีสำรองไว้ล่วงหน้าหรือยัง อะไหล่สำคัญๆ เช่นแบตเตอรี่ อุปกรณ์ไฟฟ้า อะไหล่บอดี้ มีหรือหรือไม่